โรงเรียนบ้านโป่ง เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ระยะทางโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตราด ๓๐ กิโลเมตร
โรงเรียนบ้านโป่ง เดิมชื่อ “โรงเรียนวัดศรีบัวทอง ” ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านศรีบัวทอง ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ย้ายมาตั้งอยู่เลขที่ ๓๒๓ หมู่ที่ ๑ ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด และเปลี่ยนชื่อ ตามชื่อหมู่บ้านว่า “ โรงเรียนบ้านโป่ง ” ปัจจุบันมีพื้นที่ ๒๐ ไร่
ในพื้นที่ ๒๐ ไร่ของโรงเรียนประกอบไปด้วยอาคารเรียน ๕ หลัง อาคารอเนกประสงค์ โรงอาหาร โรงฝึกงาน ฯลฯ โรงเรียนบ้านโป่งเดิมเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขนาดกลาง เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ๒ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียนทั้งหมด 330 คน มีครูตามเกณฑ์ ก.ค.ศ. จำนวน ๑๖ คน โดยมีผู้บริหารโรงเรียน คือ นางสาวอุษา บุญชู ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่ง และนายชยานนท์ ไชยรักษ์ ดำรงตำแหน่งรองอำนวยการโรงเรียนบ้านโป่ง
โรงเรียนบ้านโป่ง ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบันปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๒ ถึง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีจำนวน ๑๑ ห้องเรียน
โรงเรียนบ้านโป่ง ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ตั้งอยู่ติดอยู่กับถนนสาย ๓๑๕๔ เขาสมิง-นนทรี-บ่อไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเคียน
ทิศใต้ ติดต่อกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังตะเคียน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับวัดบ้านโป่ง ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนสาย ๓๑๕๔ เขาสมิง-นนทรี-บ่อไร่
โครงสร้างการบริหารงาน
โรงเรียนมีการแบ่งโครงสร้างบริหารออกเป็น ๔ งาน ได้แก่
๑. การบริหารวิชาการ
ขอบข่าย/ภารกิจ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพใน สถานศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน การประสานงานพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่นและ ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงานอื่น
๒. การบริหารงบประมาณ
ขอบข่าย/ภารกิจ การจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล การระดมทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา การบริหารการเงิน การ บริหารบัญชี การบริหารพัสดุและสินทรัพย์
๓. การบริหารงานบุคคล
ขอบข่าย/ภารกิจ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุ การ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ
๔. การบริหารงานทั่วไป
ขอบข่าย/ภารกิจ การดำเนินงานธุรการ งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา การพัฒนา ระบบและเครือข่ายการศึกษา การประสานงานและพัฒนาเครือข่าย การจัดระบบการบริหารและพัฒนา องค์กร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมสนับสนุนด้านต่างๆ การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การจัดทำสำมะโนผู้เรียน การรับนักเรียน การส่งเสริมและประสานงานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา การส่งเสริมงานกิจการนักเรียน การประชาสัมพันธ์ การ ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานฯ การจัดระบบการควบคุมภายใน งานบริการสาธารณะโดยมีหัวหน้างาน รับผิดชอบการทำงานแต่ละงาน และคณะครู นักการภารโรงมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่ผู้บริหารมอบหมาย นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมในการวางแผนการบริหารโรงเรียนและจัดกิจกรรม การเรียนการสอน โรงเรียนมีการประชุมข้าราชการครูอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง และประชุมคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษาละ ๒ ครั้ง เพื่อวางแผนการพัฒนาโรงเรียน การดำเนินต่างๆ และการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น
แนวคิดหลักของการพัฒนาโรงเรียน
บริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ยึดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เน้นพัฒนา คุณภาพนักเรียน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น พัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้และ เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน
ลักษณะการบริหารงาน
โรงเรียนได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้ สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด โดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดความต้องการของท้องถิ่น และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง ๕ ด้าน คือ ด้าน คุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดการศึกษา ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษาและ ด้านมาตรการส่งเสริม ตามกลยุทธ์และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ของโรงเรียนบ้านโป่ง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลยุทธ์ที่ ๑ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ ๒ สร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลยุทธ์ที่ ๑ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ ๒ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ ๑ ลดภาระงานอื่นที่นอกเหนือจากงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากร ทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะด้าน การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และทักษะในการสื่อสารของครู ให้มีสมรรถนะด้านการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความสามารถทุกด้านอย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
กลยุทธ์ที่ ๔ เสริมสร้างระบบแรงจูงใจให้ครู และบุคลากรทางการศึกษามีขวัญกำลังใจในการทำงาน เกิดผลการปฏิบัติงานเชิงประจักษ์
กลยุทธ์ที่ ๕ ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู การ เป็นครูมืออาชีพ และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ ๖ ส่งเสริม สนับสนุนให้องค์กร องค์คณะบุคคล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วางแผน สรรหา ย้าย โอนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและชุมชน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ ๑ กระจายอำนาจและความรับผิดชอบการบริหารจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริมเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนานโยบายและเป็นฐานในการพัฒนาการจัด การศึกษาของสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ ๔ ส่งเสริมสถานศึกษา และองค์คณะบุคคลให้มีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
นโยบายโรงเรียนบ้านโป่ง
๑. พัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒. พัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากร
๓. พัฒนาปรับปรุงบริเวณโรงเรียน สภาพแวดล้อมให้น่าอยู่
๔. พัฒนาให้บุคลากรทุกฝ่าย มีสุขภาพอนามัยที่ดี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
๕. พัฒนาการเรียนการสอนให้นักเรียนมีวินัย มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะพึง ประสงค์
๖. ส่งเสริมให้ความร่วมมือ และเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาการเรียนการสอน
๗. พัฒนาการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
๘. พัฒนาการคุณภาพศึกษาให้ได้มาตรฐานการศึกษา และนักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข
คำขวัญ
“ เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ”
วิสัยทัศน์
“โรงเรียนบ้านโป่ง บริหารจัดการศึกษา ให้มีคุณภาพสู่ศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อความมั่นคง เสมอภาค ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
๑. ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
๒. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
๓. สร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาค ทั่วถึง
๔. พัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่ศตวรรษที่ ๒๑
๕. เสริมสร้างการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาการจัดการศึกษา
“ การศึกษาเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ”
อัตลักษณ์
“ โรงเรียนดีมีอาชีพ ”
เอกลักษณ์
“ สถานศึกษาพอเพียง ”
เป้าประสงค์
๑. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
๒. ผู้เรียนมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๓. ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เสมอภาค
๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทักษะที่จำเป็น ในศตวรรษที่ ๒๑
๕. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นครูมีอาชีพ
๖. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน